วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2558

สาเหตุอะไรบ้างที่ทำให่อาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ของชาวเติร์กและอิสลามล่มสลายลงได้

สาเหตุอะไรบ้างที่ทำให่อาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ของชาวเติร์กและอิสลาม ล่มสลายลงได้

1.การบริหารงานปกครองที่ไม่มีประสิทธิภาพของสุลต่าน 17 พระองค์ที่ทรงครองราชย์ต่อจากสุลต่านสุไลมานในระหว่างปี พ.ศ. 2099  (ค.ศ. 1566) – พ.ศ. 2332 (ค.ศ. 1789)

2.อาณาจักรหรือจักรวรรดิใหญ่ๆนั้น ย่อมจัดการบริหารดินแดนและปกครองลำบาก โดยเฉพาะเขตแดนที่ติดกับอาณาจักรอื่น (ปัญหานี้มีกับทุกจักรวรรดิที่ใหญ่ๆ กับเขตแดนชายแดนที่ห่างไกล)

3.การแย่งชิงอำนาจในราชสำนักก็เป็นปัจจัยอันหนึ่งที่นำไปสู่การเสื่อมถอยของจักรวรรดิออตโตมัน เช่น การปลิดชีพ พี่น้องของตัวเอง เพื่อป้องกันปัญหาการแย่งชิงราชสมบัติกันเอง จนต่อมาในรัชสมัยของสุลต่านเมห์เมดที่ 1 ซึ่งขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2148 ทรงเปลี่ยน ประเพณีเหล่านี้เป็นการกักขังแทน

4.ปัญหาภายในของเชื้อพระวงค์ การกักบริเวณดังกล่าวมีผลอย่างมากต่อสุขภาพจิตเจ้าชายรัชทายาท ซึ่งได้รับการทูลเชิญให้ขึ้นครองราชย์ในภายหลัง สุลต่านหลายพระองค์ ทรงมีสุขภาพจิตที่ไม่สมบูรณ์ เนื่องจากถูกกักบริเวณมาเป็นเวลานาน บางพระองค์ถูกกักบริเวณนานกว่า 20 ปี

5.ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมาอำนาจของขุนนางภายใต้การนำของอัครมหาเสนาบดีมีมากขึ้น ทำให้พระราชอำนาจขององค์สุลต่านนั้นลดลงไปอย่างมาก

6.เกิดการทุจริตจากรุ่นสู่รุ่นในสมัยนั้น จนทำให้บ้านเมืองอ่อนแอล้าหลังไม่ทันคนอื่นเขา

7.การเล่นพรรคเล่นพวกตัวเองกีดกันผู้มีความสามารถเอาพวกตัวเองเป็นใหญ่ก็เป็นอีก 1 ปัญหาสำคัญของ จักรวรรดิออตโตมัน

8.ปัญหาหลายอย่างสะสมกันนับร้อยๆปี ของออตโตมันเริ่มส่งผลออกให้โลกภายนอกรับรู้ จนมีการคิดกันว่าจะจัดการกับออตโตมันอย่างไร ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ชาติมหาอำนาจยุโรปเริ่มตระหนักถึงความอ่อนแอของจักรวรรดิออตโตมันมากขึ้น และเริ่มตั้งคำถามว่า  ควรจะดำเนินการอย่างไรกับดินแดนภายใต้การปกครองของจักรวรรดิออตโตมัน หากจักรวรรดิออตโตมันมีอันต้องล่มสลาย โดยไม่ให้ส่งผลกรทบต่อดุลยอำนาจในยุโรปในศตวรรษที่ 19 จักรวรรดิออตโตมันได้รับฉายาว่าเป็นคนป่วยแห่งยุโรป ฉายาดังกล่าว พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 1 แห่งรัสเซีย  เป็นผู้ตั้งในเชิงดูหมิ่นเหยียดหยามออตโตมัน ที่ได้เข้าร่วมสงครามไครเมีย (Crimea War) กับอังกฤษและฝรั่งเศส เพื่อต่อต้านรัสเซีย ในปี พ.ศ. 2397
การโจมตีกำแพงคอนสแตนติโนเปิลของกองทัพออตโตมัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น