จักรวรรดิออตโตมัน
การถือกำเนิดของจักรวรรดิออตโตมัน
จักรวรรดิออตโตมัน (อังกฤษ: Ottoman Empire) ถือกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 1996 (ค.ศ. 1453) หลังการล่มสลายของจักรวรรดิไบแซนไทน์ซึ่งมีคอนสแตนติโนเปิล(อิสตันบูล) เป็นเมืองหลวง จักพรรดิเมห์เหม็ดที่ 2เป็นผู้นำในการทำสงคราม ตอนแรกที่ยึดคอนสแตนติโนเปิลได้ พระองค์ได้ทรงเปลี่ยนชื่อเมืองคอนสแตนติโนเปิลใหม่เป็น อิสตันบูล และเปลี่ยนโบสถ์ฮาเจีย โซเฟีย ที่เป็นโบสถ์ในศาสนาคริสต์ เป็นมัสยิดในศาสนาอิสลาม
คำขวัญ
حالة الحب الأبدي
Sonsuz aşk durumu
("ความรักอันเป็นรัฐนิรันดร์")
حالة الحب الأبدي
Sonsuz aşk durumu
("ความรักอันเป็นรัฐนิรันดร์")
เพลงชาติ
Ottoman imperial anthem
Ottoman imperial anthem
เมืองหลวง | เซออุต (พ.ศ. 1842-1869) บูร์ซา (พ.ศ. 1869-1908) เอดีร์เน (พ.ศ. 1908-1996) คอนสแตนติโนเปิล(อิสตันบูล) (พ.ศ. 1996-2465) |
ภาษา | ภาษาตุรกีแบบออตโตมัน |
รัฐบาล | ราชาธิปไตย | |
สุลต่าน | ||
- | 1824 – 1869 | จักรพรรดิออสมันที่ 1 |
- | 1918 – 1922 | จักรพรรดิเมห์เมดที่ 6 |
อัครมหาเสนาบดี | ||
- | 1863 - 1874 | อาลาเอดดิน ปาชา |
- | 2463-2465 | อาห์เมด เตฟฟิก ปาชา |
ประวัติศาสตร์ | ||
- | การก่อตั้ง | พ.ศ. 1842 |
- | การยึดกรุงคอนสแตนติโนเปิล | 29 พ.ค. 1996 |
- | การแบ่งดินแดน | 17 พฤศจิกายน 2465 |
พื้นที่ | ||
- | พ.ศ. 2223 | 12,000,000 km²(4,633,226 sq mi) |
ประชากร | ||
- | 2399 ประมาณการ | 35,350,000 คน |
- | 2449 ประมาณการ | 20,884,000 คน |
- | 2457 ประมาณการ | 18,520,000 คน |
- | 2462 ประมาณการ | 14,629,000 คน |
สกุลเงิน | อักเช กูรุช และลีรา |
ระบบการบริหาร ของ
จักรวรรดิออตโตมัน | ||
---|---|---|
มิลเลท ● หน่วยบริหารระดับรอง ●รัฐบริวาร
อาณาเขตที่ออตโตมันครอบคลุมอาณาจักรออตโตมันมีอาณาเขตที่ครอบคลุมถึง 3 ทวีป ได้แก่ เอเชีย แอฟริกา และยุโรป ซึ่งขยายไปไกลสุดถึงช่องแคบยิบรอลตาร์ทางตะวันตก นครเวียนนาทางทิศเหนือ ทะเลดำทางทิศตะวันออก และอียิปต์ทางทิศใต้สงครามสมัยจักรวรรดิออตโตมันในยุโรป
สงครามออตโตมันในยุโรป (อังกฤษ: Ottoman wars in Europe) เป็นสงครามของจักรวรรดิออตโตมันที่ต่อสู้ในยุโรปที่บางครั้งก็เรียกว่า “สงครามออตโตมัน” หรือ “สงครามตุรกี” โดยเฉพาะในตำราที่เขียนในยุโรปในสมัยโบราณ
“สงครามออตโตมันในยุโรป” แบ่งออกเป็นห้าสมัยที่รวมทั้ง:
การล่มสลายของจักรวรรดิออตโตมัน
จักรวรรดิออตโตมัน (Ottoman Empire) ถือกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 1996 (ค.ศ. 1453) หลังการล่มสลายของจักรวรรดิไบแซนไทน์ซึ่งมีคอนสแตนติโนเปิล(อิสตันบูล) เป็นเมืองหลวง จักพรรดิเมห์เหม็ดที่ 2เป็นผู้นำในการทำสงคราม ตอนแรกที่ยึดคอนสแตนติโนเปิลได้ พระองค์ได้ทรงเปลี่ยนชื่อเมืองคอนสแตนติโนเปิลใหม่เป็น อิสตันบูล และเปลี่ยนโบสถ์ฮาเจีย โซเฟีย ที่เป็นโบสถ์ในศาสนาคริสต์ เป็นมัสยิดในศาสนาอิสลาม
อาณาจักรออตโตมันมีอาณาเขตที่ครอบคลุมถึง 3 ทวีป ได้แก่ เอเชีย แอฟริกา และยุโรป ซึ่งขยายไปไกลสุดถึงช่องแคบยิบรอลตาร์ทางตะวันตก นครเวียนนาทางทิศเหนือ ทะเลดำทางทิศตะวันออก และอียิปต์ทางทิศใต้
อาณาจักรออตโตมันล่มสลายในปี พ.ศ. 2466 (ค.ศ. 1923) มีจักรพรรดิเมห์เหม็ดที่ 6 เป็นจักรพรรดิองค์สุดท้าย และมีสาธารณรัฐตุรกี ขึ้นมาแทนที่ และมีมุสตาฟา เคมาล อตาเติร์ก เป็นประธานาธิบดีคนแรก
สาเหตุอะไรบ้างที่ทำให่อาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ของชาวเติร์กและอิสลาม ล่มสลายลงได้
1.การบริหารงานปกครองที่ไม่มีประสิทธิภาพของสุลต่าน 17 พระองค์ที่ทรงครองราชย์ต่อจากสุลต่านสุไลมานในระหว่างปี พ.ศ. 2099 (ค.ศ. 1566) – พ.ศ. 2332 (ค.ศ. 1789)
2.อาณาจักรหรือจักรวรรดิใหญ่ๆนั้น ย่อมจัดการบริหารดินแดนและปกครองลำบาก โดยเฉพาะเขตแดนที่ติดกับอาณาจักรอื่น (ปัญหานี้มีกับทุกจักรวรรดิที่ใหญ่ๆ กับเขตแดนชายแดนที่ห่างไกล)
3.การแย่งชิงอำนาจในราชสำนักก็เป็นปัจจัยอันหนึ่งที่นำไปสู่การเสื่อมถอยของจักรวรรดิออตโตมัน เช่น การปลิดชีพ พี่น้องของตัวเอง เพื่อป้องกันปัญหาการแย่งชิงราชสมบัติกันเอง จนต่อมาในรัชสมัยของสุลต่านเมห์เมดที่ 1 ซึ่งขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2148 ทรงเปลี่ยน ประเพณีเหล่านี้เป็นการกักขังแทน
4.ปัญหาภายในของเชื้อพระวงค์ การกักบริเวณดังกล่าวมีผลอย่างมากต่อสุขภาพจิตเจ้าชายรัชทายาท ซึ่งได้รับการทูลเชิญให้ขึ้นครองราชย์ในภายหลัง สุลต่านหลายพระองค์ ทรงมีสุขภาพจิตที่ไม่สมบูรณ์ เนื่องจากถูกกักบริเวณมาเป็นเวลานาน บางพระองค์ถูกกักบริเวณนานกว่า 20 ปี
5.ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมาอำนาจของขุนนางภายใต้การนำของอัครมหาเสนาบดีมีมากขึ้น ทำให้พระราชอำนาจขององค์สุลต่านนั้นลดลงไปอย่างมาก
6.เกิดการทุจริตจากรุ่นสู่รุ่นในสมัยนั้น จนทำให้บ้านเมืองอ่อนแอล้าหลังไม่ทันคนอื่นเขา
7.การเล่นพรรคเล่นพวกตัวเองกีดกันผู้มีความสามารถเอาพวกตัวเองเป็นใหญ่ก็เป็นอีก 1 ปัญหาสำคัญของ จักรวรรดิออตโตมัน
8.ปัญหาหลายอย่างสะสมกันนับร้อยๆปี ของออตโตมันเริ่มส่งผลออกให้โลกภายนอกรับรู้ จนมีการคิดกันว่าจะจัดการกับออตโตมันอย่างไร ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ชาติมหาอำนาจยุโรปเริ่มตระหนักถึงความอ่อนแอของจักรวรรดิออตโตมันมากขึ้น และเริ่มตั้งคำถามว่า ควรจะดำเนินการอย่างไรกับดินแดนภายใต้การปกครองของจักรวรรดิออตโตมัน หากจักรวรรดิออตโตมันมีอันต้องล่มสลาย โดยไม่ให้ส่งผลกรทบต่อดุลยอำนาจในยุโรปในศตวรรษที่ 19 จักรวรรดิออตโตมันได้รับฉายาว่าเป็นคนป่วยแห่งยุโรป ฉายาดังกล่าว พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 1 แห่งรัสเซีย เป็นผู้ตั้งในเชิงดูหมิ่นเหยียดหยามออตโตมัน ที่ได้เข้าร่วมสงครามไครเมีย (Crimea War) กับอังกฤษและฝรั่งเศส เพื่อต่อต้านรัสเซีย ในปี พ.ศ. 2397
สุลต่านออสมันที่ 1
สุลต่านออสมันที่ 1 (อังกฤษ: Osman I) สุลต่านองค์แรกแห่ง จักรวรรดิออตโตมัน ประสูติเมื่อ ค.ศ. 1258 เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อปี ค.ศ. 1299ทรงสามารถรวบรวมชนเผ่าต่างๆให้เป็นหนึ่งเดียวได้สำเร็จพร้อมกับขยายพระราชอาณาเขต ออกไปอย่างกว้างขวาง สวรรคตเมื่อปี ค.ศ. 1326 ขณะพระชนม์ได้ 68 พรรษา ออสมันบุตรชายได้ขึ้นเป็นผู้นำแทน ภายหลังที่อาณาจักรเซลจุกเสื่อมอำนาจ ออสมันได้ถือโอกาสประกาศตนเป็นเอกราชและได้สถาปนาอาณาจักรของตนเอง ขึ้นในภาคตะวันตกของอนาโตเลีย อาณาจักรแห่งนี้ชาวตะวันตกเรียกว่า ออสโตมัน (Ottoman) แต่ในภาษาตุรกีจะเรียกว่า ออตแมนลึ (Osmanli) ตามพระนามของสุลต่านออสมัน (Osman) ผู้สถาปนาอาณาจักรและราชวงศ์
สุลต่านฟา เคมาล อตาเติร์ก ประธานาธิบดีคนแรกของตุรกีสุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 แห่งจักรวรรดิออตโตมัน
สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 แห่งจักรวรรดิออตโตมัน หรือ สุลต่านเมห์เหม็ดผู้พิชิต (อังกฤษ: Mehmed II[1][2] หรือ Fatih Sultan Mehmet) (30 มีนาคม ค.ศ. 1432 – 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1481) เป็นสุลต่านหรือพระมหากษัตริย์แห่งจักรวรรดิออตโตมันผู้ครองราชย์สองครั้ง ครั้งแรกระหว่างปี ค.ศ. 1444 จนถึงปี ค.ศ. 1446 และครั้งที่สองระหว่างปี ค.ศ. 1451 จนถึงปี ค.ศ. 1481
เมื่อมีพระชนมายุได้ 21 สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 ก็ทรงตีกรุงคอนสแตนติโนเปิลแตกเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1453 ซึ่งเป็นการสิ้นสุดของจักรวรรดิไบแซนไทน์ หลังจากนั้นพระองค์ก็ทรงดำเนินการรณรงค์ต่อไปและทรงได้รับชัยชนะในเอเชียซึ่งเป็นการรวมอานาโตเลีย และทรงได้รับชัยชนะในยุโรปไปจนถึงเบลเกรด พระปรีชาสามารถทางด้านการบริหารคือการผสานระบบการบริหารของจักรวรรดิไบแซนไทน์ให้เข้ามาอยู่ในระบบเดียวกับจักรวรรดิออตโตมัน
ราชวงศ์ออตโตมัน
ราชวงศ์ออตโตมัน หรือ ราชวงศ์ออสมัน (ตุรกี: Osmanlı Hânedanı, อังกฤษ: Ottoman Dynasty หรือ Imperial House of Osman) เป็นราชวงศ์ที่ปกครองจักรวรรดิออตโตมันระหว่าง ค.ศ. 1299 ถึง ค.ศ. 1922 โดยมี สุลต่านออสมันที่ 1 แห่งจักรวรรดิออตโตมันเป็นปฐมสุลต่าน (ไม่รวมพระราชบิดา Ertuğrul) แม้ว่าจะมิได้ประกาศว่าเป็นราชวงศ์อย่างเป็นทางการมาจนกระทั่งถึงรัชสมัยของพระราชโอรสของพระองค์--สุลต่านออร์ฮันที่ 1 (Orhan I)[1] ผู้ประกาศพระองค์เป็นสุลต่าน ก่อนหน้านั้นราชวงศ์หรือเผ่าชนกลุ่มนี้ก็อาจจรู้จักกันว่า Söğüt แต่ได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็น “ออสมันลิ” (Osmanlı) เพื่อเป็นเกียรติแก่สุลต่านออสมัน (หรือ “Ottoman” ในภาษาอังกฤษ)
สุลต่านเป็นตำแหน่งเดียวและเป็นตำแหน่งที่มีอำนาจเด็ดขาด เป็นประมุขของรัฐและของรัฐบาลของจักรวรรดิอย่างน้อยก็อย่างเป็นทางการ แต่บางครั้งอำนาจก็อาจจะตกไปอยู่ในมือของข้าราชสำนักอื่น (ซึ่งโดยระบบมีตำแหน่งที่ขึ้นกับสุลต่าน) โดยเฉพาะของอัครเสนาบดี (Grand Vizier) ผู้ที่มีวังที่เรียกกันในรัฐบาลออตโตมันว่า “ประตูหลัก” (High Porte) ส่วนพระราชวังทอปคาปึ (Topkapı Palace) ของสุลต่านเป็นเพียงที่ประทับอาศัยของพระราชฐานฝ่ายใน (Seraglio) หรือ ฮาเร็ม
สมัยที่ออตโตมันรุ่งเรื่อง
จักรวรรดิออตโตมันได้เจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดในสมัยสุลต่านสุไลมาน ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2063 (ค.ศ. 1520) – พ.ศ. 2109 (ค.ศ. 1566) ในรัชสมัยของพระองค์ถือเป็นยุคทองของจักรวรรดิ อาณาเขตได้แผ่ขยายออกไปอย่างกว้างใหญ่ไพศาล ทิศตะวันตกจรดดินแดนออสเตรีย
ประวัติศาสตร์ทั้งหมดเกี่ยวกับจักรวรรดิออตโตมัน[แก้]
ในช่วงที่เซลจุกเติร์กกำลังเสื่อมอำนาจ ชาวเติร์กเผ่าอื่นๆ ซึ่งได้อพยพตามเซลจุกเติร์กเข้ามายังอนาโตเลียจึงได้ถือโอกาสประกาศตนเป็นเอกราช ซึ่งในจำนวนนี้รวมถึงชาวเติร์กกลุ่มหนึ่งภายใต้การนำของออสมัน เบย์ (Osman Bey) (“เบย์” ในภาษาตุรกีมีความหมายว่า ผู้นำ หรือ เจ้าเมือง) ผู้นำชาวเติร์กเผ่าคายี (Kayi) ซึ่งเป็นสายย่อยของเติร์กเผ่าโอกูซ (Oghuz) บิดาของออสมัน ชื่อ Ertugrul เป็นผู้นำเผ่าคายี ซึ่งเป็นเติร์กกลุ่มหนึ่งที่อพยพเข้าไปอยู่ในเปอร์เซีย ในกลางศตวรรษที่ 13 Ertugrul ได้พาเผ่าของตนอพยพเข้ามายังอนาโตเลีย เพื่อหลบหนีการโจมตีจากพวกมองโกล เมื่ออพยพเข้ามายังอนาโตเลียแล้ว Ertugrul เสียชีวิต ออสมันบุตรชายได้ขึ้นเป็นผู้นำแทน ภายหลังที่อาณาจักรเซลจุกเสื่อมอำนาจ ออสมันได้ถือโอกาสประกาศตนเป็นเอกราชและได้สถาปนาอาณาจักรของตนเอง ขึ้นในภาคตะวันตกของอนาโตเลีย อาณาจักรแห่งนี้ชาวตะวันตกเรียกว่า ออสโตมัน (Ottoman) แต่ในภาษาตุรกีจะเรียกว่า ออตแมนลึ (Osmanli) ตามพระนามของสุลต่านออสมัน (Osman) ผู้สถาปนาอาณาจักรและราชวงศ์
จักรวรรดิออสโตมันมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองบูร์ซา เดิมชื่อเมืองโพรอุสซา (Proussa) ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 14 ออสมันได้ยกกำลังมาปิดล้อมเมืองนี้แต่ไม่สามารถยึดเมืองได้ หลังจากที่พยายามปิกล้อมเมืองอยู่นานเกือบ 10 ปี อย่างไรก็ดี ในปี พ.ศ. 1869 (ค.ศ. 1326) ชาวเมืองโพรอุสซา ได้ยอมแพ้ต่อ ออร์ฮัน (Orhan) โอรสของออสมัน ซึ่งได้ขันมาเป็นผู้นำแทนบิดา การเข้ายึดครองเมืองดังกล่าวนี้ได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญต่อออสโตมัน ออตโตมันเติร์กซึ่งเดิมเป็นชนเผ่าเร่ร่อนได้ลงหลักปักฐานที่เมืองนี้ พรัอมกับยุติการใช้ชีวิตแบบเร่ร่อน เมืองบูร์ซ่าเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรออตโตมันเติร์ก จนถึงปี พ.ศ. 1905 ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของสุลต่านออร์ฮัน เมืองหลวงของออตโตมันก็ถูกย้ายไปเมืองเอดิร์เน (Edirne) ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของนครคอนสแตนติโนเปิล
อาณาจักรออตโตมันตั้งประชิดติดกับอาณาจักรไบแซนไทน์ ที่กำลังเสื่อมอำนาจลงตามลำดับ โดยมีดินแดนเหลืออยู่เพียงกรุงคอนสแตนติโนเปิลและอาณาบริเวณโดยรอบเท่านั้น ซึ่งมีสภาพไม่ต่างอะไรไปจากนครเล็กๆ ที่ถูกล้อมรอบโดยอาณาจักรออตโตมัน ที่กำลังเข้มแข็งมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างไรก็ดีนครรัฐไบแซนไทน์ก็ยังสามารถยืนหยัดอยู่ได้ โดยอาศัยกำแพงเมืองสูงใหญ่เป็นปราการป้องกันตนเอง กำแพงแห่งนี้สร้างขึ้นในสมันจักรพรรดิธีโอดอซิอุสที่ 2 (Theodosius II) กำแพงแห่งนี้ได้ปกป้องคุ้มครองนครคอนสแตนติโนเปิลจากการปิดล้อมและโจมตีของออตโตมันเติร์ก ซากของกำแพงในปัจจุบันจัดเป็นสิ่งก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่แห่งหนึ่งของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ที่ยังหลงเหลือให้เห็นจนกระทั่งทุกวันนี้และได้รับการยกย่องจาอองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก
ในปี พ.ศ. 1933 (ค.ศ. 1390) และ พ.ศ. 1934 สุลต่านไบยัดซึที่ 1 ทรงพยายามปิดล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิลถึง 2 ครั้ง แต่ก็ไม่สามารถตีเมืองได้สำเร็จ ในปี พ.ศ. 1965 (ค.ศ. 1422) สุลต่านมูราตที่ 2 ได้ทำการปิดล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิลอีกเป็นครั้งที่ 3 แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเช่นกัน จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 1996 (ค.ศ. 1453) สุลต่านเมห์เมตที่ 2 ได้เปิดฉากการโจมตีกรุงคอนสแตนติโนเปิล ซึ่งในขณะนั้นมีพลเมืองเหลืออยู่เพียงประมาณ 50,000 คน จากเดิมที่เคยมีมากกว่า 500,000 คน
การปิดล้อมทั้งทางบกและทางทะเลของสุลต่านเมห์เมตที่ 2 เริ่มต้นขึ้นในต้นฤดูใบไม้ผลิของปี พ.ศ. 1996 (ค.ศ. 1453) ภายหลังที่ปิดล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิลได้ประมาณ 50 วัน กองทหารออตโตมันก็สามารถทะลวงกำแพงเมืองอันสูงใหญ่ของกรุงคอนสแตนติโนเปิลได้สำเร็จในวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 1996 (ค.ศ. 1453) และเข้ายึดกรุงได้ในที่สุด ซึ่งการปิดฉากอย่างสมบูรณ์ของจักรวรรดิโรมันตะวันออก ซึ่งสามารถยืนหยัดอยู่รอดมาได้ยาวนานถึง 1,123 ปี มีจักรพรรดิปกครองรวมทั้งสิ้น 82 พระองค์จากหลายราชวงศ์ จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 11 จักรพรรดิองค์สุดท้ายของไบแซนไทน์ทรงสิ้นพระชนม์อย่างมีปริศนา ท่ามกลางความสับสนอลหม่านในวันที่กรุงคอนสแตนติโนเปิลแตก
ความสำเร็จในการโจมตีกรุงคอนสแตนติโนเปิลในครั้งนี้ ถือเป็นชัยชนะอันยิ่งใหญ่ของชนเชื้อสายเติร์ก ซึ่งได้อพยพเข้าสู่อนาโตเลีย ภายหลังที่สุลต่าน Alparslan ทรงมีชัยชนะเหนือกองทัพจักรพรรดิโรมานุสที่ 6 (Romanus IV) แห่งอาณาจักรไบแซนไทน์ในสมรภูมิ ณ เมืองมาลัซเกิร์ต (Malazgirt)
ในปี พ.ศ. 2244 (ค.ศ. 1701) ชัยชนะของสุลต่าน Alparslan ได้เปิดทางให้ชนเชื้อสายเติร์กจากเอเชียกลางหลั่งไหลเข้าสู่อาณาจักรอนาโตเลีย ในขณะที่ชัยชนะของสุลต่านเมห์เมตที่ 2 ในปี พ.ศ. 1996 ได้เปิดทางให้จักรวรรดิออตโตมันได้ก้าวไปสู่การเป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ในเวลาต่อมา
ภายหลังที่สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 ทรงตีกรุงคอนสแตนติโนเปิลแตกเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1453 พระองค์ก็ทรงได้รับการขานพระนามว่าฟาติ เมห์เมต (Fatih Mehmet) “ฟาติ” (Fatih) มีความหมายว่า “ผู้พิชิต” (the conqueror) สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 โปรดให้ย้ายเมืองหลวงของจักรวรรดิจากเมืองเอดิร์เน มายังกรุงคอนสแตนติโนเปิล และได้โปรดให้มีการเปลี่ยนชื่อเมืองเสียใหม่เป็น อิสลามบูล (Islambul) ภายหลังที่มีการสถาปนาสาธารณรัฐตุรกีในปี พ.ศ. 2466 นครอิสลามบูลได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น “อิสตันบูล” (Istanbul) ในปัจจุบันในระยะเวลาไม่ถึง 100 ปี นับตั้งแต่ที่สุลต่านเมห์เมตที่ 2 ทรงสามารถตีกรุงคอนสแตนติโนเปิลได้สำเร็จ อาณาจักรออตโตมันได้แผ่ขยายออกไปอย่างรวดเร็ว กลายเป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกมุสลิมในเวลาต่อมา จักรวรรดิออตโตมันได้ขยายอำนาจครอบคลุมดินแดนถึง 3 ทวีป ได้แก่ ตะวันออกกลาง (เอเชีย) แอฟริกาเหนือ และยุโรปบอลข่าน
จักรวรรดิออตโตมันได้เจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดในสมัยสุลต่านสุไลมาน ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2063 (ค.ศ. 1520) – พ.ศ. 2109 (ค.ศ. 1566) ในรัชสมัยของพระองค์ถือเป็นยุคทองของจักรวรรดิ อาณาเขตได้แผ่ขยายออกไปอย่างกว้างใหญ่ไพศาล ทิศตะวันตกจรดดินแดนออสเตรีย
ทิศตะวันออกจรดคาบสมุทรอาเรเบีย ทิศเหนือจรดคาบสมุทรไครเมีย ทิศใต้จรดซูดานในแอฟริกาเหนือ ชาวตะวันตกได้ขนานพระนามของพระองค์ว่า “สุไลมาน ผู้ยิ่งใหญ่” สำหรับชาวตุรกีพระองค์ได้รับสมัญญานามว่า “สุไลมาน ผู้พระราชทานกฎหมาย” เนื่องจากพระองค์ทรงมีบทบาทสำคัญในการปฏิรูประบบกฎหมาย สุลต่านสุไลมานสิ้นพระชนม์ในระหว่างวทำสงครามที่ฮังการีในปี พ.ศ. 2109 (ค.ศ. 1566) สิริรวมพระชนมายุได้ 74 พรรษา ทรงครองราชย์ยาวนานถึง 46 ปี อดีตอันยิ่งใหญ่ของจักรวรรดิออตดตมันโดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัชสมัยสุลต่านสุไลมานเป็น 1 ใน 3 สิ่งที่ชาวตุรกีภาคภูมิใจเป็นอย่างมากเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของชาติตน
สิ้นรัชกาลสุลต่านสุไลมาน จักรวรรดิออตโตมันเข้าสู่ยุคเสื่อม ซึ่งกินระยะเวลายาวนานถึง 300 ปี ก่อนที่จะล่มสลายลงอย่างสิ้นเชิงภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 สาเหตุที่นำไปสู่ความเสื่อมอำนาจของจักรวรรดิมาจากปัจจัยหลายประการ ที่สำคัญได้แก่ การไร้ความสามารถของสุลต่าน 17 พระองค์ที่ทรงครองราชย์ต่อจากสุลต่านสุไลมานในระหว่างปี พ.ศ. 2099 (ค.ศ. 1566) – พ.ศ. 2332 (ค.ศ. 1789) การแย่งชิงอำนาจในราชสำนักก็เป็นปัจจัยอันหนึ่งที่นำไปสู่การเสื่อมถอยของจักรวรรดิออตโตมัน สมัยสุลต่านเบยาซิต ที่ 1 (ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 1932 – 1946) โปรดให้จัดการปลงพระชนม์พระอนุชาของพระองค์เอง ทันทีที่ทรงทราบข่าวการสิ้นพระชนม์ของพระบิดา เพื่อตัดปัญหาการแย่งชิงราชสมบัติ การกระทำดังกล่าวได้กลายเป็นประเพณีปฏิบัติสืบมาจนถึงรัชสมัยของสุลต่านเมห์เมดที่ 1 ซึ่งขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2148 (ค.ศ. 1605) โปรดให้เปลี่ยนการสำเร็จโทษมาเป็นการกักบริเวณแทน การกักบริเวณดังกล่าวมีผลอย่ามมากต่อสุขภาพจิตเจ้าชายรัชทายาท ซึ่งได้รับการทูลเชิญให้ขึ้นครองราชย์ในภายหลัง สุลต่านหลายพระองค์ทรงมีสุขภาพจิตที่ไม่สมบูรณ์ เนื่องจากถูกกักบริเวณมาเป็นเวลานาน บางพระองค์ถูกกักบริเวณนานกว่า 20 ปี
ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา พระราชอำนาจของสุลตานได้ลดลงเป็นอย่างมาก ในขณะที่อำนาจของขุนนางภายใต้การนำของอัครมหาเสนาบดีมีมากขึ้น ในยุคนี้การฉ้อราษฎร์บังหลวง การเล่นพรรคเล่นพวกเกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย ส่งผลให้การเมืองภายในประเทศอ่อนแอ ในทางเศรษฐกิจ จักรวรรดิก็ประสบปัญหาอย่างมากเช่นกัน ในขณะที่ยุโรปประสบความสำเร็จในการปฏิวัติอุตสาหกรรม มีความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว จักรวรรดิออตโตมันกลับอ่อนแอลงตามลำดับ อย่างไรก็ดี จักรวรรดิก็สามารถประคับประคองตนเองให้อยู่รอดมาได้นานนับร้อยปี เนื่องจากชาติมหาอำนาจในยุโรปไม่ทราบถึงความอ่อนแอภายในจักรวรรดิออตโตมัน
อย่างไรก็ดีในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ชาติมหาอำนาจยุโรปเริ่มตระหนักถึงความอ่อนแอของจักรวรรดิออตโตมันมากขึ้น และเริ่มตั้งคำถามว่า ควรจะดำเนินการอย่างไรกับดินแดนภายใต้การปกครองของจักรวรรดิออตโตมัน หากจักรวรรดิออตโตมันมีอันต้องล่มสลาย โดยไม่ให้ส่งผลกรทบต่อดุลยอำนาจในยุโรป
ในศตวรรษที่ 19 จักรวรรดิออตโตมันได้รับฉายาว่า เป็นคนป่วยแห่งยุโรป ฉายาดังกล่าว พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 1 แห่งรัสเซีย เป็นผู้ตั้งในเชิงดูหมิ่นเหยียดหยามออตโตมัน ที่ได้เข้าร่วมสงครามไครเมีย (Crimea War) กับอังกฤษและฝรั่งเศส เพื่อต่อต้านรัสเซีย ในปี พ.ศ. 2397 (ค.ศ. 1854)
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งเสด็จเยือนจักรวรรดิออตโตมันในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ทรงวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเมืองในช่วงนั้นได้เป็นอย่างดี โดยทรงวิเคราะห์ไว้ว่า แม้ว่าจักรวรรดิออตโตมันจะเสื่อมอำนาจ แต่ชาติตะวันตกก็ยังลังเลที่จะเข้ายึดครองดินแดนต่างๆ ที่เป็นเมืองขึ้นของเติร์กทั้งหมด เนื่องจากเหตุผล 2 ประการ คือ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเห็นว่า ด้วยเหตุผลดังกล่าว ออตโตมันจึงยังสามารถยืนหยัดอยู่ได้ แม้ว่าจะอ่อนแอลงกว่าในอดีตมาก
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น